หน้าแรก

โครงการการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปัตตานี

PATTANI Strategic Research Area for Poverty Alleviation and Social Mobility (Pattani SRA)

       โครงการวิจัย “การพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปัตตานี” โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจนยกทั้งจังหวัด โดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดขจัดความยากจนหรือยุทธศาสตร์แก้จนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีอย่างยั่งยืน มีโครงการย่อยคือ “การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน “ปัตตานียั่งยืน: ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี (Eco-Pattani: Ecology creates economy in coastal communities)”

       หมุดหมายในการดำเนินการโมเดลแก้จนจังหวัดปัตตานีช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2566-2567 เน้นยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครัวเรือนชุมชนชายฝั่งทะเล เนื่องด้วยปัจจุบันพื้นที่ทางทะเลมีศักยภาพเชิงนิเวศน์ที่สามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวและผลผลิตจากทรัพยากรทางทะเลให้กับจังหวัดปัตตานีเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัด เพราะความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพสูง และเป็นมรดกธรรมชาติที่สำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และนิเวศวิทยา และรวมถึงการที่ชุมชนพึ่งพาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในหลากหลายรูปแบบ เช่น การประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

       รูปแบบหรือกระบวนการดำเนินงานโครงการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การประสานงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับการบูรณาการบริหารจัดการในพื้นที่ที่เชื่อมโยงเชิงระบบเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดปัตตานี (2) การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System: PPAOS) (3) การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน จาก “ตาลีอายร์ยั่งยืน (Eco-Tali-Ai): ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมตำบลตาลีอายร์ (Ecology creates economy in Tali-Ai) สู่การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน “ปัตตานียั่งยืน: ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี (Eco-Pattani: Ecology creates economy in coastal communities)  เน้นการเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างของการเข้าถึงการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ (4) สถาบันการศึกษา (Area Based University) เพื่อให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ และระดับปฏิบัติการ (5) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision System Support: DSS) เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดปัตตานีอย่างเป็นรูปธรรมแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืน…

ข่าวและกิจกรรมล่าสุด

การประชุมพิจารณา (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์กรอบการวิจัย “พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม” และ กรอบการวิจัย “เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคม”ภายใต้แผนงานวิจัยและนวัตกรรม “ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างของการเข้าถึงการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”ประจำปีงบประมาณ 2566

รับชมวิดีโอแนะนำโครงการ