ระยะที่ 2

ระยะที่ 2

โครงการการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนา ความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 (Area-Based Collaborative Research on Reducing Poverty and Improving Equity in Thailand: A Case Study of Pattani Province Phase 2)

       โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 นี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ

    1. เพื่อค้นหา สอบทานข้อมูล และสำรวจทุนคนจนและครัวเรือนระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีและเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพครบทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ของระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform-TPMAP)
    2. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนพื้นที่ ส่วนจังหวัด และส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ 100%
    3. เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลแก้จนที่จะแก้ปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืน
    4. เพื่อร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หนุนเสริม หรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไข ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ตัวชี้วัด และแนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

       โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 ครอบคลุมการดำเนินการหลัก 5 ประเด็น คือ 1) การพัฒนาระบบข้อมูลคนจนและครัวเรือนในระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยการค้นหาและสอบทานข้อมูล 2) การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนจังหวัด 3) ปฏิบัติการแก้จน Operating Model จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบและปฏิบัติการแก้จน 4) ระบบหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน 5) การพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีผลการวิจัยดังรายละเอียดต่อไปนี้

    1. การพัฒนาระบบข้อมูลคนจนและครัวเรือนในระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยการค้นหาและสอบทานข้อมูล

       โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 นี้ เลือกพื้นที่ปฏิบัติการวิจัย คือ อำเภอยะหริ่ง เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีการกระจุกตัวของครัวเรือนยากจนสูงที่สุดในจังหวัดปัตตานี อำเภอยะหริ่งมีศักยภาพของพื้นที่และมีหน่วยงานที่พร้อมจะบูรณาการในการแก้ปัญหาและพัฒนา อีกทั้งยังมีกลไกภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาควิชาการที่พร้อมจะขับเคลื่อนร่วมงานกันได้ คณะนักวิจัยให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดเก็บและตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำสูงสุด โดยมีขั้นตอนในการตรวจสอบ 5 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการจัดเก็บข้อมูลโดยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหมู่บ้าน 2) กระบวนการการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัย 3) กระบวนการแก้ไขข้อมูลกรณีที่พบข้อมูลที่ผิดพลาด 4) กระบวนการบันทึกข้อมูลลงระบบ และ 5) กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องหลังจากบันทึกข้อมูลลงระบบ  

       ในการดำเนินงานวิจัยระยะที่ 2 นี้ คณะนักวิจัยค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในอำเภอยะหริ่งครบตามฐานข้อมูล TPMAP ร้อยละ 100 โดยมีการค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจน อ.ยะหริ่ง จำนวน 1,933 ครัวเรือน ใน 18 ตำบล 81 หมู่บ้าน รวมครัวเรือนที่สามารถข้อมูลเก็บได้ทั้งสิ้น จำนวน 1,672 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ไม่สามารถเก็บได้ จำนวน 261 ครัวเรือน สาเหตุเนื่องจากการย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่พบผู้ให้ข้อมูลหรือไม่อยู่ที่บ้านพักอาศัยในขณะลงพื้นที่ และ ไม่ประสงค์ให้ข้อมูล ทั้งนี้คณะนักวิจัยได้ดำเนินการค้นหาครัวเรือนตกสำรวจ (Add-on) เพิ่มเติมในแต่ละตำบล จำนวน 142 ครัวเรือน

       ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบการค้นหาและสอบทานข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรติดตามและปรับปรุงข้อมูลคนจนกลุ่มเป้าหมายและคนจนตกหล่นทุกปี เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ควรมีการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลใน TPMAP เนื่องจากข้อมูลบางส่วนมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้นหาคนจนกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ

    1. การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนจังหวัด

       การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือ มี 2 ลักษณะ คือ

       2.1 การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนทันทีหรือกำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางด้านความเป็นอยู่และการดำรงชีพ จากการศึกษาพบว่าจังหวัดปัตตานียังไม่ได้กำหนดระบบหรือแนวทางในการส่งต่อความช่วยเหลือคนหรือครัวเรือนยากจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนทันทีในเชิงระบบที่มีโครงสร้างและมีผู้รับผิดชอบ ระบบดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาทั้งกรณีจำเป็นเร่งด่วนและกรณีที่ต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยหลายฝ่าย

       2.2 การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในประเด็นปัญหานั้น ๆ โดยตรง 

             การติดตามผลการส่งต่อข้อมูลคนและครัวเรือนยากจนจังหวัดปัตตานีตามวงจรการป้อนกลับ (Feedback Loops) มีหน่วยงานรับการส่งต่อข้อมูล รวม 6 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานี สำนักงานคลังจังหวัดปัตตานี ข้อมูลส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 21,253 ครัวเรือน และ ข้อมูลผู้ได้รับและไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) จังหวัดปัตตานี จำนวน 47,642 คน อย่างไรก็ตาม การติดตามผลลัพธ์การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่ร้องขอข้อมูลและหน่วยงานที่โครงการวิจัยส่งต่อ เนื่องจากหน่วยงานยังไม่สามารถส่งผลให้กับโครงการได้ทันที จึงควรมีการติดตามเป็นระยะเพื่อให้ได้ผลการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย

3. ปฏิบัติการแก้จน Operating Model จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบและปฏิบัติการแก้จน

       คณะนักวิจัยคัดเลือกพื้นที่ปฏิบัติการแก้จนจากข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายยากจนในอำเภอยะหริ่ง คณะนักวิจัยศึกษาข้อมูลและคัดเลือก “ตำบลตาลีอายร์” เป็นพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาโมเดลแก้จนร่วมกับนายอำเภอยะหริ่งและหัวหน้าส่วนราชการอำเภอยะหริ่ง จากการสำรวจข้อมูลในระบบ PPP CONNEXT พบว่า ทุนดำรงชีพ 5 มิติของตำบลตาลีอายร์ มีทุนกายภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (2.93 พออยู่ได้) รองลงมาคือ ทุนธรรมชาติ (2.62 พออยู่ได้) ทุนเศรษฐกิจ (2.23 อยู่ยาก) ทุนมนุษย์ (2.03 อยู่ยาก) และทุนทางสังคม (1.58 อยู่ลำบาก) ตามลำดับ ทุนทั้ง 5 มิติของตำบลตาลีอายร์นี้สอดคล้องกับผลการสำรวจของอำเภอยะหริ่งในภาพรวม จากนั้น คณะนักวิจัยนำผลการวิเคราะห์ทุนดำรงชีพทั้ง 5 มิติ กรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) และ ใช้ข้อมูลจากการจัดเวทีชุมชนเพื่อสำรวจศักยภาพและความพร้อมของครัวเรือนเป้าหมายไปสู่การออกแบบปฏิบัติการแก้จน (OM) ที่สอดคล้องกับทุนครัวเรือน ทุนชุมชน และตอบสนองความต้องการของครัวเรือนยากจนตำบลตาลีอายร์ นั่นคือ โมเดลแก้จน “ตาลีอายร์ยั่งยืน (Eco-Tali-Ai): ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมตำบลตาลีอายร์ (Ecology creates economy in Tali-Ai)” ซึ่งประกอบด้วย 4 OM คือ 1) Tali-Ai Care 2) Tali-Ai Creative 3) Tali-Ai Agronomy และ 4) Tali-Ai Biz ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้

3.1 Tali-Ai Care

3.1.1 มิติสุขภาพ (Tali-Ai Health)

                         พื้นที่ตำบลตาลีอายร์  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี โดยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ มีฐานะยากจน จึงขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลสุขภาพที่ดีส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต ดังนั้น ปฏิบัติการแก้จนและการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านสุขภาวะในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ จึงดำเนินการใน 3 ด้าน คือ 1) การส่งเสริมสุขภาวะชุมชนของตำบลตาลีอายร์ 2) การประเมินความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพในชุมชนของอสม. และพัฒนาด้านความรู้และทักษะของผู้ดูแลสุขภาพชุมชน และ 3) การติดตามคุณค่าและประเมินผลของการปฏิบัติการแก้จนร่วมกับหน่วยงานหลักในพื้นที่ ผลการดำเนินงานปฏิบัติการแก้จนพบว่า ครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนด้านสุขภาพของตำบลตาลีอายร์ที่เข้าร่วมโครงการยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาวะได้น้อย จึงจำเป็นต้องกำหนดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นอาหารสำหรับผู้เป็นโรค NCDs 

                         อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่มีกลุ่มอสม. และกลุ่มบัณฑิตประจำตำบลที่มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาวะชุมชน สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เข้าใจกระบวนการชุมชนที่ส่งผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะ แต่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาวะชุมชนที่เกิดจากความต้องการในชุมชนเอง จึงจำเป็นต้องกำหนดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็น “การเขียนโครงการด้านสุขภาวะชุมชน” สำหรับการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน สปสช. ซึ่งเป็นระบบและกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชนเพื่อให้ชุมชนดูแลกันเองเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

3.1.2 มิติการศึกษา (Tali-Ai Education)

                         การขับเคลื่อนปฏิบัติการด้านการศึกษาดำเนินการโดยการสำรวจข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากการศึกษาในระบบ และสืบค้นข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากการศึกษาในระบบ รวมถึงหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนทางเลือกให้แก่เด็กและเยาวชนที่หลุดออกการศึกษาในระบบ ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนที่ตกอยู่ในกลุ่มเปราะบางทางการศึกษา มีจำนวนทั้งหมด 78 ครัวเรือน มีจำนวนคน 138 คน คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่พบปะและพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียง 18 คน เนื่องจากปัญหาทุนเศรษฐกิจ ผู้ปกครองส่วนหนึ่งไม่ได้สนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องการศึกษาของบุตรหลาน นอกจากนี้บางครอบครัวไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาในระดับสูงไปกว่าการศึกษาภาคบังคับ เนื่องจากความเชื่อว่า “เรียนไปก็ตกงาน” ดังนั้น ควรทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อชี้แนะให้เห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวดีขึ้น

3.1.3 มิติการเสริมศักยภาพ (Tali-Ai Empowerment)

                         มิติการเสริมศักยภาพ คือการให้ความสำคัญกับการปรับวิธีคิดของสมาชิกในครัวเรือนยากจนให้มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน โดยคณะนักวิจัยจะทำหน้าที่ empower หรือ เสริมศักยภาพ ด้วยการจัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพที่ต่อยอดจากอาชีพเดิมหรือศักยภาพที่สมาชิกในครัวเรือนยากจนมีอยู่ รวมทั้งการเสริมพลังใจ โดยการกระตุ้น ติดตามใกล้ชิด ชื่นชม ให้กำลังใจ และตักเตือนตามความเหมาะสม ดังนั้น OM Empowerment หรือการเสริมศักยภาพจะแทรกอยู่ในทุก OM ย่อย  

3.1.4 ตาลีอายร์สร้างสรรค์ (Tali-Ai Creative)

                         ผลการวิเคราะห์ทุนฐานดำรงชีพ 5 มิติและผลการจัดเวทีประชาคมนำสู่การสรุปประเด็นเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของครัวเรือนยากจนเป้าหมายโดยใช้แนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มาเสริมสร้างเอกลักษณ์และความแปลกใหม่ให้กับงานศิลปหัตถกรรม ยกระดับด้านทักษะฝีมือของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และแนวทางสร้างความยั่งยืนของ OM ตาลีอายร์สร้างสรรค์ จำแนกตาม 3 ปฏิบัติการย่อย คือ

                         1) TALI-AI Crafts งานหัตถกรรม หัตถศิลป์ ผลการดำเนินงานพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการที่ยังไม่มีทักษะ เกิดความชำนาญ ฝีมือประณีตขึ้น 2) เกิดระบบการบริหารจัดการกลุ่มและผลประโยชน์ 3) เกิดการทำงานข้ามพื้นที่และเรียนรู้ทักษะใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีรายได้ระหว่าง 1,500-7,725 บาทต่อเดือนต่อคน อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะพื้นฐานงานฝีมือไม่เท่ากัน จำเป็นต้องเพิ่มการฝึกทักษะ บางคนมีภารกิจหลายอย่างจึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการฝึกทักษะ ควรต้องมีผู้ดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

                         2) TALI-AI Remake งานสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้/ผ้าเก่าผลการดำเนินงานพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจแนวคิดเรื่อง BCG 2) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจเรื่องการออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อมากขึ้น 3) เกิดทักษะใหม่ในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีรายได้ระหว่าง 150-1,500บาทต่อเดือนต่อคน สำหรับแนวทางสร้างความยั่งยืน คือ การพัฒนาฝีมือให้ประณีตและชำนาญยิ่งขึ้น และการขยายกลุ่มเพื่อผลิตให้ได้จำนวนที่เหมาะสมกับการทำตลาด และควรหาแนวทางในการลดหรือควบคุมต้นทุนในการผลิต รวมทั้งการหาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการผลิตและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน

                         ทั้งนี้ ในการดำเนินการมีพัฒนานวัตกรรมสารกั้นสีจากกาวยางพาราและแป้งข้าวพื้นเมืองเพื่อการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ของชุมชนในการทำผ้าบาติกอีกด้วย

                         3) TALI-AI Tour งานท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ได้รับความร่วมมือจากฟาร์มตัวอย่าง ฯ ในการใช้พื้นที่และการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

3.1.5 เกษตรและปศุสัตว์ (Tali-Ai Agro)

                         ปฏิบัติการแก้จนด้านเกษตรและปศุสัตว์มีจำนวนคนจน/ครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วม จำนวน 59 คน ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มอาชีพ คือ 1) อาชีพเกษตร (ปลูกผัก) มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 15 คน 2) อาชีพทำนา มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 13 คน และ 3) อาชีพ    ปศุสัตว์ มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน คณะนักวิจัยได้วัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โดยการวัดความรู้เฉพาะ วัดทักษะอาชีพ (ก่อน – หลัง) การให้ความรู้ของทั้ง 3 อาชีพ สรุปได้ดังนี้

                         3.1.5.1) กลุ่มอาชีพด้านเกษตร (ปลูกผัก สมุนไพร)  พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เฉพาะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และการจัดการระบบการเงินมีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนความรู้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเตรียมการเพาะปลูก มีค่าเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ด้านการวัดทักษะอาชีพการพัฒนาทักษะอาชีพการปลูกผัก พบว่า ผู้เข้าร่วมมีทักษะการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการเพาะปลูก-มีผลผลิตจากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นมากที่สุด  ในขณะที่ทักษะด้านการเตรียมการในการเพาะปลูก (เตรียมพื้นที่ ดิน ศึกษาหาความรู้วิธีการเพาะปลูก) มีน้อยที่สุด

                         3.1.5.2) กลุ่มอาชีพด้านปศุสัตว์ (เลี้ยงแพะ แกะ) ผลการวัดความรู้เฉพาะการพัฒนาทักษะอาชีพด้านปศุสัตว์ (เลี้ยงแพะ แกะ) พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เฉพาะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้เฉพาะที่มีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ความรู้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาปัญหาโรคและพยาธิที่สำคัญในแพะ และด้านที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ความรู้ในระบบการเลี้ยงแพะ ส่วนการวัดทักษะอาชีพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ทักษะอาชีพที่มีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ทักษะปฏิบัติงานตามวิธีการในการจัดการเลี้ยงแพะ และด้านที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือทักษะการปฏิบัติงานประจำวันในโรงเรือนแพะ

                         3.1.5.3) กลุ่มอาชีพด้านการเกษตร (ทำนา) คณะนักวิจัย พบว่า กลุ่มคนจนเป้าหมายของหมู่ที่ 1 บ้านตาลีอายร์ และหมู่ที่ 2 บ้านบากง ในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยำหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่มีความสนใจในการทำนา ได้มีการรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ (แปลงใหญ่ข้าวตำบลตาลีอายร์) ทางคณะนักวิจัยได้ประสานงานกลุ่มวิจัยข้าว สำนักงานพัฒนาที่ดิน เกษตรอำเภอ เพื่อเตรียมพร้อมในการทำนาประณีตและพร้อมขับเคลื่อนงานต่อไป

                         บทเรียนจากปฏิบัติการแก้จนด้านเกษตรและปศุสัตว์ พบว่า กลุ่มคนจนเป้าหมายส่วนหนึ่งเป็นคนทำงานนอกพื้นที่ ควรให้บัณฑิตอาสาและบัณฑิตแรงงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานงาน นัดประชุมกับคณะนักวิจัยในวันเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งควรมีการประสานหน่วยงาน เครือข่ายในพื้นที่ และมหาวิทยาลัย ในการอบรมให้ความรู้และการพัฒนาทักษะอาชีพ และทักษะการออมเงินในครัวเรือน การวางแผนใช้เงินในการจัดซื้อและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ ตลอดจนการวางแผนการผลิตประจำฤดูกาล

3.1.6 รสชาติแห่งตาลีอายร์ (Tali-Ai Tastes)

                         ปฏิบัติการแก้จนและการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ และ การแปรรูปอาหาร คือ แกงโบราณ อาหารพื้นถิ่นอัตลักษณ์ชุมชน อาหารพื้นถิ่นรายการแรกที่ได้รับการพัฒนาได้แก่ แกงเนื้อสูตรโบราณ หรือที่ภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า “แกงกูตุ๊” แกงเนื้อสูตรโบราณที่ชาวมลายูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะหารับประทานได้ในช่วงเทศกาลพิเศษ เช่น วันตรุษอิดิ้ลฟิตรี และ วันตรุษอิดิ้ลอัฎฮา หรือที่ภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า วันรายอเท่านั้น แกงกูตุ๊มีส่วนผสมของสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ลูกผักชี พริก ฯลฯ ครัวเรือนยากจนเป้าหมายมีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ คือ การปลูกพืชสมุนไพร กลางน้ำคือการปรุงแกงกุตุ๊ ปัจจุบัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงกูตุ๊พร้อมรับประทานอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.) และมาตรฐานฮาลาล นอกจากนี้ กลุ่มยังจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนในนาม“ต็อยญิบตาลีอายร์ : กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตำบลตาลีอายร์” เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้เพิ่มให้ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กลุ่มเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มความสามารถ ควรเพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการและการตลาด และจัดให้มีการวางแผนการสร้างโรงเรือนในชุมชนเพื่อรองรับการผลิตให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานในการผลิต

3.1.7 ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Tali-Ai Herbs)

                         OM Tali-Ai-Herbs มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนจนเป้าหมายโดยเชื่อมโยงกับโครงการย่อยการเพาะปลูก (Tali-Ai Agro) และโครงการย่อยด้านอาหาร (Tali-Ai Tastes) โดยมุ่งเน้นการเพาะปลูกพืชสมุนไพร การส่งต่อผลผลิตสู่การแปรรูปเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร และการแปรรูปสมุนไพรเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดต่าง ๆ การดำเนินงานปฏิบัติการแก้จนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกระบวนการการเพาะปลูกพืชสมุนไพรและสมุนไพรที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการพัฒนาและการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและพืชสมุนไพร 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการบริโภค 4) การทดสอบคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ 5) การอบรมเชิงปฏิบัติการคำนวณต้นทุน การบริหารจัดการ สำรวจตลาด แผนการตลาดและการสร้างโอกาสทางธุรกิจ   

                         จากการดำเนินงานพบว่า การปฏิบัติการ OM ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะสำเร็จได้ ควรบูรณาการการทำงานและกำหนดเป้าหมายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดในระดับประเทศต่อไป

3.1.8 ธุรกิจและการตลาด (Tali-Ai Biz)

                         คณะนักวิจัยพัฒนาเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ทางสังคมให้กลุ่มคนยากจน โดยสร้างเครือข่ายการตลาดแบบครบวงจรที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ในเครือข่ายการตลาดซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนหลัก คือ

                         1) ศูนย์รวบรวมสินค้า (Warehouse) เป็นจุดรวบรวมสินค้าจากชุมชนทั้งจากกลุ่มคนยากจนและเครือข่ายเพื่อรอการกระจายสินค้า  

                         2) ศูนย์แนะนำและบริการสินค้าออนไลน์ (Marketing & Service) ซึ่งในขณะนี้ทางคณะนักวิจัยได้ดำเนินการสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ต้นแบบ ชื่อว่า ร้าน มอ.มาร์ท (MoreMart-SHOP)  

                         3) ศูนย์ขนส่ง (Logistics) เป็นศูนย์รับส่งสินค้าจากผู้ผลิตเข้าสู่คลังสินค้าและส่งสินค้าจากคลังสู่ผู้บริโภค โดยจะใช้บริการของแฟรนไชส์ของบริษัทขนส่งที่เหมาะสม เช่น Kerry Flash EMS express  เป็นต้น  

                         4) ศูนย์พัฒนากองทัพนักขายออนไลน์ 

                         5) ตลาดสดชุมชนและร้านค้าเครือข่ายออฟไลน์ คณะนักวิจัยร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เตรียมดำเนินการสร้างตลาดนัดในพื้นที่บริเวณฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  บ้านสีปาย  

                         อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศักยภาพการผลิต และผลิตภัณฑ์จากตำบลตาลีอายร์มีจำนวนไม่เพียงพอ การขับเคลื่อนสู่ตลาดทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ ยังไม่สามารถดำเนินงานให้ครบถ้วนตามระบบทั้ง 5 ระบบที่ออกแบบไว้ ในเบื้องต้นคณะนักวิจัยวางแผนทดลองรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอ  ยะหริ่งทั้ง 17 ตำบล และสินค้าอื่น ๆ ของจังหวัดปัตตานีเข้าสู่ระบบธุรกิจและการตลาดที่วางไว้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบและการเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

    1. ระบบหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

       การหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน คณะนักวิจัยได้พัฒนาและส่งข้อเสนอเชิงนโยบายการลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำ ภายใต้บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเข้มแข็ง บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ.2566-2570 โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาโครงการวิจัยในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 รวมทั้งได้ร่วมเป็นหน่วยปฏิบัติงานขับเคลื่อนการดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) และอำเภอ (ศจพ.อ.)

    1. การพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน

       คณะนักวิจัยได้ออกแบบระบบการติดตามโดยใช้ Microsoft access ที่ตอบสนองความต้องการในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลบนเครือข่ายซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลอื่นได้ง่าย ระบบฐานข้อมูล access เป็นระบบที่ใช้ข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relational Database) โดยที่จะมองรูปแบบเป็นตารางข้อมูล (Table) ตารางข้อมูลคือกลุ่มข้อมูลที่นำมาเก็บรวมกันต้องมีความเกี่ยวข้องกัน โดยที่จะระบุความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์นั้น ผู้ใช้สามารถใช้ access ในการจัดการกับฐานข้อมูล เพิ่ม ลบ แก้ไขและค้นหาข้อมูลจึงมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการติดตาม กลุ่มเป้าหมายรายบุคคลในตำบลตาลีอายร์ จำนวน 190 ครัวเรือนเพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังนี้ในการพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ตัวชี้วัด และแนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

อรุณรวรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว

aruneewan.n@psu.ac.th

ดร.ไอร์นี แอดะสง

ดร.ไอร์นี แอดะสง

ainee.a@psu.ac.th

ศูนย์ประสานงานการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี
รศ.ดร.อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต

รองศาสตราจารย์ ดร.อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต

anlaya.s@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผศ.ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ

jareerat.su@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก

jirachaya.j@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

sawat.l@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นายไพรัตน์ จีรเสถียร

นายไพรัตน์ จีรเสถียร

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
ผศ.ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง

aree.ta@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวนุรซาฮิดาห์ อุเซ็ง

นางสาวนุรซาร์ฮิดาห์ อุเซ็ง

nursahida.u@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผศ.ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม

thaintip.k@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์

ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์

eaknarin.r@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

montira.l@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ-4

รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ-3

ผศ.ปิยะ กิจถาวร

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ-5

นางกรวิภา ขวัญเพ็ชร

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ-6

ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ-7

ผศ.ดร.บดินทร์ แวลาเตะ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวอาตีซะห์ วาแมง

นางสาวอาตีซะห์ วาแมง

นางสาวรอดียะห์ สะมะ

นางสาวรอดียะห์ สะมะ

นางสาววรรณี มาหิเละ

นางสาววรรณี มาหิเละ