ระยะที่ 4

ระยะที่ 4

โครงการการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปัตตานี (The development and enhancement of the strategic management for poverty alleviation and creating social opportunities: Case study in Pattani Province)

       โครงการวิจัย “การพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปัตตานี” โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจนยกทั้งจังหวัด โดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดขจัดความยากจนหรือยุทธศาสตร์แก้จนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีอย่างยั่งยืน มีโครงการย่อยคือ “การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน “ปัตตานียั่งยืน: ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี (Eco-Pattani: Ecology creates economy in coastal communities)”

       หมุดหมายในการดำเนินการโมเดลแก้จนจังหวัดปัตตานีช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2566-2567 เน้นยกระดับเศรษฐกิจฐานรากครัวเรือนชุมชนชายฝั่งทะเล เนื่องด้วยปัจจุบันพื้นที่ทางทะเลมีศักยภาพเชิงนิเวศน์ที่สามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวและผลผลิตจากทรัพยากรทางทะเลให้กับจังหวัดปัตตานีเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัด เพราะความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพสูง และเป็นมรดกธรรมชาติที่สำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และนิเวศวิทยา และรวมถึงการที่ชุมชนพึ่งพาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในหลากหลายรูปแบบ เช่น การประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

       รูปแบบหรือกระบวนการดำเนินงานโครงการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การประสานงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับการบูรณาการบริหารจัดการในพื้นที่ที่เชื่อมโยงเชิงระบบเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดปัตตานี (2) การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System: PPAOS) (3) การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน จาก “ตาลีอายร์ยั่งยืน (Eco-Tali-Ai): ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมตำบลตาลีอายร์ (Ecology creates economy in Tali-Ai) สู่การพัฒนาและขยายต่อโมเดลแก้จน “ปัตตานียั่งยืน: ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี (Eco-Pattani: Ecology creates economy in coastal communities)  เน้นการเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างของการเข้าถึงการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ (4) สถาบันการศึกษา (Area Based University) เพื่อให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ และระดับปฏิบัติการ (5) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision System Support: DSS) เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดปัตตานีอย่างเป็นรูปธรรมแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืน

       ในการดำเนินงานการขับเคลื่อนผลงานวิจัยเน้นก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการเป็นสถาบันเพื่อการพัฒนาในพื้นที่ (Area Based University) โดยเฉพาะด้านข้อมูลความรู้ในการเสริมพลังกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัด และมีพื้นที่ดำเนินงาน คือ ครอบคลุมครบ 6 อำเภอในจังหวัดปัตตานี ได้แก่ อำเภอยะหริ่ง ซึ่งเป็นอำเภอนำร่อง และอำเภอขยายผล 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอสายบุรี อำเภอหนองจิก อำเภอไม้แก่น และอำเภอปะนาเระ  ในการดำเนินงานมีภาคีเครือข่ายทั้งระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ ที่เป็นภาคีเครือข่าย ผลสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ดังนี้

       1. การพัฒนาและยกระดับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ (Area Based University) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัดที่ เน้นการสร้างนักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Manager) ที่มีแนวคิดและทักษะการขับเคลื่อนขจัดความยากจนระดับจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญ เป็นการพัฒนาและยกระดับแนวทางการบูรณาการบริหารจัดการในพื้นที่ (Provincial Platform) เชื่อมโยงเชิงระบบและความสัมพันธ์การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดปัตตานี

       2. การพัฒนายุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับจังหวัดที่มีเป้าหมายร่วม แผนปฏิบัติการ และโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่จะเกิดเส้นทางการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2570 เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในรูปแบบหรือแนวทางการประสานความร่วมมือ (MOU) ทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับเครือข่าย ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คน ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจะเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญด้านการพัฒนาและยกระดับแนวทางการบูรณาการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมพื้นที่จังหวัดปัตตานี และสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานีปี 2566-2570

       3. การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System : PPAOS) ประกอบด้วย ระบบค้นหาสอบทาน ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน (ซึ่งใน 3 เดือนที่ผ่านมามีก้าวหน้าในการจัดเก็บเชิงปริมาณร้อยละ 30 และคาดว่าจะเก็บครบทั้งจังหวัดในเดือนกันยายนนี้) ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ และโมเดลแก้จนเหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ เพื่อเข้าถึงโอกาสในการยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ในจังหวัดปัตตานี

       4. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดปัตตานีอย่างเป็นรูปธรรมอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืนขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ด้านการยกระดับศักยภาพ ชุดข้อมูลครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมอำเภอเป้าหมายตามฐานข้อมูล TPMAP 2565 ครอบคลุมครบทั้ง 12 อำเภอในจังหวัดปัตตานี

       5. การปฏิบัติการโมเดลแก้จนเหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและบริบทพื้นที่ เชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อำเภอชายฝั่งทะเลร่วมกับกลุ่มวิสากิจชุมชน กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวและภาคีเครือข่ายระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ โดยช่วง 3 เดือนแรกเน้นการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่ม ความต้องการหนุนเสริมด้านองค์ความรู้ การตลาด เทคโนโลยีสนับสนุนที่เหมาะ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีกระบวนการผลิต การเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ การส่งเสริมการตลาดและช่องทางจัดจำหน่าย การหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชนชายฝั่งทะเลเชิงสร้างสรรค์ และการส่งเสริมอาชีพและการแปรรูปอาหารทะเล เป็นต้น เพื่อยกระดับรายได้เชิงเศรษฐกิจและสร้างโอกาสทางสังคมอย่างยั่งยืน

อรุณรวรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว

aruneewan.n@psu.ac.th

ดร.ไอร์นี แอดะสง

ดร.ไอร์นี แอดะสง

ainee.a@psu.ac.th

ศูนย์ประสานงานการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี
รศ.ดร.อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต

รองศาสตราจารย์ ดร.อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต

anlaya.s@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผศ.ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ

jareerat.su@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร ช่วยอารีย์

somporn.c@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ศิริชัย พุ่มมาก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริชัย พุ่มมาก

sirichai.p@psu.ac.th

คณะศิลปกรรมศาสตร์
ผศ.มนัสมีน เจะโนะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัสมีน เจะโนะ

manusmeen.j@psu.ac.th

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผศ.ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลี

haneefah.j@psu.ac.th

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผศ.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก

jirachaya.j@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

sawat.l@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นายไพรัตน์ จีรเสถียร

นายไพรัตน์ จีรเสถียร

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
ผศ.ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง

aree.ta@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวนุรซาฮิดาห์ อุเซ็ง

นางสาวนุรซาร์ฮิดาห์ อุเซ็ง

nursahida.u@psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผศ.ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม

thaintip.k@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายชุมพร หนูเมือง

นายชุมพร หนูเมือง

chumphon.n@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.สรินฎา ปุติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรินฎา ปุติ

sarinda.p@psu.ac.th

คณะศึกษาศาสตร์
ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์

ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์

eaknarin.r@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

montira.l@psu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวอาตีซะห์ วาแมง

นางสาวอาตีซะห์ วาแมง

นางสาวรอดียะห์ สะมะ

นางสาวรอดียะห์ สะมะ

นางสาวอามีรา เจะเตะ

นางสาวอามีรา เจะเตะ

นางสาววรรณี มาหิเละ

นางสาววรรณี มาหิเละ

ทั่วไป

ม.อ.ปัตตานี จัดกิจกรรมการประกวดแพะแกะปัตตานี ภายใต้โครงการปฏิบัติการแก้จนด้านการพัฒนาอาชีพการเลี้ยง แพะ-แกะ ในพื้นที่ 5 ตำบลชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี

100 วัน Makanan Kanak-Kanak
การประเมินผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน (SLROI)
ซะกาตเพื่อลดปัญหาความยากจน
กลไกการสร้างการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและชุมชนเพื่อส่งเสริมการศึกษาของเด็กในพื้นที่ยากจนจ.ปัตตานี
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนชายฝั่งทะเลตามเส้นทางสายวัฒนธรรม
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)
แพะ-แกะ แก้จน
ปฏิบัติการโมเดลแก้จนผ่านการขับเคลื่อนสวัสดิการเกื้อกูลประมงพื้นบ้าน
ประมงยั่งยืน
ปัตตานียั่งยืน : การแก้จนเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ
โครงการการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี ต.ตาลีอายร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
ภาวะทุพโภชนาการกับอนาคตการเติบโตของเด็ก จ.ปัตตานี | ฟังเสียงประเทศไทย