
นักวิจัยฯ โครงการการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม : กรณีศึกษาพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 ปีที่ 2 นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ดร.ไอร์นี แอดะสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มายือมิง อิสอ และเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยฯ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ “บทบาทสถาบันวิชาการและกลไกภาคีในระบบบริหารจัดการภัยพิบัติป้องกัน รับมือ บรรเทา และฟื้นฟู” ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ เพื่อ (1) ออกแบบ วิเคราะห์และบูรณาการระบบสารสนเทศเกี่ยวกับภัยพิบัติ (2) ออกแบบและวางแผนการบริหารจัดการภัยพิบัติป้องกัน รับมือ บรรเทา และฟื้นฟู (3) พัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการและระบบสารสนเทศเกี่ยวกับภัยพิบัติ และ (4) เสริมศักยภาพสถาบันวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานแผนงาน/โครงการ ในการใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลภัยพิบัติประกอบการพัฒนาระบบงานการแก้ปัญหาความความยากจนในระดับพื้นที่
รับฟังการบรรยาย ระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติป้องกัน รับมือ บรรเทา และฟื้นฟูภัย
•ระบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)
•โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบข้อมูลที่มีความรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสถานการณ์ สามารถเชื่อมโยงได้ ระบบแสดงผลการประมวล ข้อมูลข่าวสาร และระบบสื่อสาร
•การเสิรมสมรรถนะทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
โดย วรรธนศักดิ์ สุปะกิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)
การเสวนา“ สานพลังสถาบันวิชาการเพื่อการบริหาร จัดการ ป้องกัน รับมือ บรรเทาและฟื้นฟูภัยพิบัติ” โดย
•รศ.ดร.วสันต์ พลาศัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
•ผศ.ดร .ก้องภพ ชาอามาตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
•ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
•ดร .ภาคภูมิ บวบทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสิมา
การประชุมกลุ่มย่อย “ความร่วมมือ การขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติ ร่วมกับกลไกภาคี ในศูนย์จัดการภัยพิบัติ“
•การวิเคราะห์ gap และข้อเสนอการบริหารจัดการ
•DSS กับการเสริมระบบการพัฒนาศูนย์จัดการภัยพิบัติ (Disaster Platform)
•การวิเคราะห์กลไกภาคีที่มีศักยภาพในการเสริมพลังระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติ ทั้งการป้องกัน และการฟื้นฟู (ระหว่างภัย) การรับมือบรรเทา (ก่อนภัย) บทบาทหน้าที่) เพื่อร่วมออกแบบระบบการบริหารศูนย์จัดการภัยพิบัติ (หลังภัย)และข้อเสนอ
•การออกแบบระบบการบริหารจัดการและแนวทางการขับเคลื่อนการป้องกัน (หลังภัย) และการฟื้นฟู (ระหว่างภัย) การรับมือบรรเทา (ก่อนภัย)
•การพัฒนาแผนบริหารจัดการ การมองช่องว่าง และทางออก Exit Strategies
และในวันที่ 2 นักวิจัยได้ร่วมประชุมปฏิบัติการ “การยกระดับและประสิทธิภาพระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่” รับฟังความสำคัญของระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ การขับเคลื่อนและการออกแบบการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล PPAOS และร่วมวิเคราะห์ ออกแบบ Module เมนูอาชีพ, หนี้สินครัวเรือน การขับเคลื่อนและการออกแบบการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล “พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมรายจังหวัด
การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศบริหารครัวเรือนยากจน และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับผู้บริหารใช้ประโยชน์ประกอบการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ การแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ
2) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการโครงการ ในการเลือกแนวทางวิธีการ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับการจัดการสภาพปัญหา และสถานการณ์ปัจจุบัน
3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน โครงการ ในการใช้ประโยชน์ ระบบข้อมูล ประกอบการพัฒนาระบบงานการแก้ปัญหาความความยากจนในระดับพื้นที่