นักวิจัยโครงการวิจัยแก้จนฯ ลงพื้นที่ ส่งมอบต้นแบบเตาชีวมวล นวัตกรรมเตาประหยัดพลังงานให้กับกลุ่มผู้ประกอบการผลิตข้าวเกรียบปลา บ้านดาโต๊ะ

วันที่ 6 มีนาคม 2567
นักวิจัยโครงการวิจัยแก้จนฯ นำโดย ผศ.ดร.จารีรัตน์ รวมเจริญ ดร.ฟารีดา หะยีเย๊ะ และผู้ช่วยนักวิจัย ร่วมกับคณะอาจารย์จากคลินิคเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ลงพื้นที่ ส่งมอบต้นแบบเตาชีวมวล นวัตกรรมเตาประหยัดพลังงานให้กับกลุ่มผู้ประกอบการผลิตข้าวเกรียบปลา บ้านดาโต๊ะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
จากการสอบถามกลุ่มผู้ประกอบการผลิตข้าวเกรียบ พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านการผลิตข้าวเกรียบที่ต้องใช้เตาสำหรับกระบวนการผลิตที่ค่อนข้างเปลือกเชื้อเพลิง และมีเตาที่ไม่สมบูรณ์ มีระยะเวลาการใช้งานสั้นต้องได้รับการซ่อมแซมเตาอยู่บ่อยๆ และค่อนข้างเสี่ยงที่จะเกิดการแตกหักของเตาเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาที่ต้องทนความร้อนประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อรอบการผลิต ทางโครงการวิจัยฯ จึงเล็งเห็นถึงปัญหาและรวมออกแบบเตาชีวมวลโดยมีคณะอาจารย์จากคลินิคเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี โดยใช้นวัตกรรมการสร้างเตาชีวมวลที่ใช้ก้อนอิฐสำหรับทนไฟและปรับรูปแบบเตาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะปรับพื้นและความกว้างของฐานรองรับหม้อต้นเพื่อสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น ซึ่งเตาชีวมวลสามารถประหยัดเวลาการใช้งานได้ถึง 30 นาทีต่อรอบการผลิตและใช้ไม้ฝืนสำหรับเชื้อเพลิงน้อยลงเป็นลดและประหยัดต้นทุนในการผลิตมากขึ้น
ขอขอบคุณคณะอาจารย์จากคลินิกเทคโนโลยี อาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคปัตตานีที่นำองค์ความรู้และมาร่วมดำเนินกิจกรรมจนแล้วเสร็จ

ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์

พื้นที่ปฏิบัติการ

อำเภอยะหริ่ง

โมเดลแก้จน

ประเภท Opportunity Based
ด้าน การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดปัตตานีโดยส่งเสริมทักษะอาชีพและการแปรรูปอาหารทะเลตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ประเด็นที่ ไม่ระบุ